วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Gallican Chant

Gallican Chant หมายถึง บทสวดที่ประกอบด้วยประเพณีของศาสนพิธีที่มีทำนองการร้องแนวเดียว (plainchant) ในพิธีกรรม Gallican ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอริกในแคว้น Gaul ซึ่งเป็นเขตดินแดนยุโรปตะวันตกในสมัยโบราณ ก่อนที่จะถูกนำมาพัฒนาส่วนประกอบของพิธีกรรมแบบโรมันแล้วก็ค่อยๆพัฒนาจนกลายเป็น Gregorian Chant และต่อมาก็กลายเป็น Ambrosian Chant ในที่สุด ถึงแม้ว่าดนตรีของพิธีกรรม Gallican ที่เกือบจะสมบูรณ์นั้นส่วนใหญ่ได้ถูกทำลายไป แต่ร่องรอยที่ทำให้เชื่อว่างานเขียนของพิธีกรรม Gallican นั้นยังคงเหลืออยู่ คือในบทสวด Gregorian และบทสวดอื่นๆอีก ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในสไตล์การประพันธ์



ชื่อที่ใช้เรียกว่า “Gallican” นั้นบางครั้งอาจใช้ในความรู้สึกว่าเป็น ‘non-Roman’ ดังนั้น Gallican Chant อาจหมายถึง ผลงานประพันธ์เพลงในยุคเก่า วรรณกรรมดนตรีของคาบสมุทร Iberian บริเวณ Celtic และ ทางเหนือของ Italy (รวมถึง Milan) และในแคว้น Gaul ด้วย


รูปแบบการประพันธ์ Gallican Chant


โครงสร้างของ Gallican Chant นั้นคำที่ใช้ในบทสวดต้องมีความเข้มงวด มีแบบแผนที่ชัดเจน รูปแบบการใช้ภาษาต้องสวยงาม และในการสวดนั้นมีการใช้คำสำคัญในรูปแบบที่ซ้ำไปซ้ำมา ในเนื้อหาของบทสวดนั้นทั้งหมดจะกล่าวเพื่อสรรเสริญ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ในส่วนของทำนองนั้น ใช้ทำนองที่คุ้นเคยจำง่าย มีการซ้ำทำนอง มีการเอื้อน โดยใช้ neumes (สัญลักษณ์ที่แสดงการขึ้นลงของเสียงร้องใช้แทนตัวโน้ตในการบันทึกโน้ตในยุคกลาง) และยังมีการนำทำนองจากเพลงอื่นเข้ามาใช้ร่วมอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น