วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

Alexander Nikolayevich Scriabin

เกิดวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1872 และเสียชีวิตวันที่ 27 เมษายน ค.ศ.1915 เป็น นักประพันธ์ และนักเปียโนชาวรัสเซียในยุคโรแมนติกตอนปลาย กับยุคศตวรรษยี่สิบ เขาเกิดในครอบครัวซึ่งเป็นคนชั้นสูงกรุงมอสโคว์ (Moscow) เมืองหลวงของรัสเซีย เขามีรากฐานมาจากทหารโดยพ่อ และลุงของเขาทุกคนมีอาชีพเป็นทหาร เมื่อเขาอายุเพียงไม่กี่ปีแม่ของเขาซึ่งเป็นนักแสดงเปียโน และเป็นลูกศิษย์ของ Theodor Leschetizky ก็ได้เสียชีวิตลงจากโรควัณโรค เขาได้เรียนรู้ทางด้านดนตรีจากป้า Lyubov ของเขาซึ่งเป็นนักเปียโนสมัครเล่น เขาเริ่มสร้างเปียโนหลังจากที่ได้ค้นพบเสน่ห์ทางกลไกและโครงสร้างของเปียโน ในช่วงแรกเขาได้เรียนเปียโนกับ Nikolai Zverev ที่เป็นผู้เข้มงวดถือวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นคนที่สอน Sergei Rachmaninoff และอัจฉริยะบุคคลคนอื่นๆใน เวลาเดียวกัน


Scriabin มีผลงานสำคัญๆ มากมายทั้งสำหรับเปียโนและสำหรับวงออร์เคสตร้า Scriabin เป็นนักประพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อ Sergei Prokofiev, Roslavets and Igor Stravinsky ถึงแม้ว่าเขาจะบอกว่าไม่ชอบดนตรีของ Prokofiev และ Stravinsky ก็ตาม Scriabin นั้นได้รับอิทธิพลจากสำนักโรแมนติคในช่วงที่เขาเกิด และยังได้รับอิทธิพลจาก Chopin (1810-1849) ซึ่งเป็นประพันธ์ และนักเปียโนชาวโปแลนด์ในยุคโรแมนติกในด้านเพลงเดี่ยวเปียโน แต่ก็มีสไตล์การประพันธ์ของตนเองที่ค่อนข้างเด่นชัดจากการที่เขาได้พัฒนาการประพันธ์ได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับนักประพันธ์คนอื่นๆ งานช่วงแรกๆของเขาให้ความรู้สึกที่มีพลัง งานช่วงและช่วงปลายใช้ โครงสร้างและการประสานเสียงที่ผิดปกติ การพัฒนาทางสไตล์ และทางเสียงของ Scriabin สามารถดูได้จาก twelve piano sonatas ของเขา Scriabin นั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นนักประพันธ์เพลงเด่นๆ คนเดียวในยุคนั้น ที่การสร้างสรรค์ผลงานได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิมิสทิซิสซึม(Mysticism) คือลัทธิที่ว่าด้วยผีสางเวทมนตร์ความลึกลับ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพสังคมและวิถีความคิดของศิลปินส่วนมาก(โดยเฉพาะกวีในกลุ่ม Symbolist) ในยุค Silver Age ที่รัสเซียขณะนั้น ได้ปฏิเสธความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และเชื่อว่าเป้าหมายของศิลปะที่แท้จริงนั้นต้องเป็นไปเพื่อยกระดับจิตวิญญาณ ของมนุษยชาติเท่านั้น (แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะในเชิงจิตวิญญาณนี้ส่งผลยาวนานในศิลปะรัสเซียจนถึงปัจจุบัน) Scriabin เองให้ความสนใจในการศึกษาปรัชญามาตลอด และรู้จักงานของนักคิดเช่น Goethe, Nietzsche, Schopenhauer, Plato และ Schelling เป็นอย่างดี เมื่อกระแสลัทธิมิสทิซิสซึมปรากฏขึ้นในช่วงต่อระหว่างศตวรรษนั้น ว่ากันว่าบรรยากาศในรัสเซียอบอวลไปด้วยความกระหายใคร่รู้เกี่ยวกับจิตวิญญาณ ผู้คนค้นหาพระเจ้า และช่องทางในการสัมผัสสื่อสารกับสิ่งที่มองไม่เห็น และ Scriabin เองในขณะนั้นก็มีโอกาสศึกษางานของ Theosophy Society (บางครั้งแปลว่าสมาคมเทวญาณวิทยา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1875 ที่นิวยอร์ค โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรวบรวมศาสนาต่างๆ ของโลกและปรัชญาเข้าด้วยกัน ทั้งของทางฝ่ายตะวันออกและตะวันตก รวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับการติดต่อกับเทวะผ่านวิธีการทางจิตวิญญาณ เป็นสมาคมที่ค้นพบและให้การศึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ศรัทธา) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมาดาม Blavatsky


การศึกษาค้นคว้าของสมาคม Theosophy ในขณะนั้น ได้กล่าวถึงสีและความสัมพันธ์กับคลื่นความคิดไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า Thought-Forms (1905) ของ Annie Besant และ C. W. Leadbeater ซึ่งยืนยันว่าเสียงแต่ละเสียงนั้นมีสีของตัวมันเองอยู่ โดยผู้ที่มีประสาทสัมผัสที่ละเอียดอ่อนพอเท่านั้นจึงจะสามารถมองเห็นสีต่างๆ เหล่านั้นได้ ในความเชื่อของผู้เข้าร่วมสมาคม Theosophy นั้น สีต่างๆ มีความสัมพันธ์กับความคิดของมนุษย์ และมีความหมายต่างๆ กันออกไป เช่นสีแดงนั้นสื่อถึงความโกรธ สีเหลืองนั้นหมายถึงปัญญา สีเขียวมีความเชื่อมโยงกับศาสนาเป็นต้น


ในส่วนของวรรณศิลป์นั้นเป็นไปได้ว่า Scriabin จะได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Arthur Rimbaud (1854-1891) กวีฝรั่งเศสในสำนัก Symbolist ที่ เคยทำการเปรียบเสียงสระต่างๆ ชนิดเป็นสีต่างๆ กัน เช่นตัว O เปรียบกับสีขาว หรือแดง ตัว A เทียบได้กับสีดำ ซึ่งในท่อนสำคัญของ Prometheus นั้น ก็ปรากฏว่า Scriabin ให้กลุ่มนักร้องประสานเสียงร้องเสียงสระต่างๆ ชนิดกันเป็นหลักมากกว่าที่จะใช้คำ


งาน Prometheus : Poem of Fire ของ Scriabin นั้น นำเสนอความเกี่ยวพันระหว่างเสียงกับสี นำออกแสดงอย่างสมบูรณ์พร้อมแสงสีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1915 เป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่และแสดงประกอบกับ Color Organ ซึ่งจะแสดงสีสันต่างๆ ออกมาขณะเล่นโดยการแปลค่าจากตัวโน้ตที่บรรเลง งานชิ้นนี้ได้รับความสนใจอย่างมากไม่เพียงแต่จากวงการดนตรีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวงการวิทยาศาสตร์อีกด้วย

Ein' feste Burg ist unser Gott

Ein' feste Burg ist unser Gott หรือ A Mighty Fortress Is Our God เป็นเพลงสวดของ Martin Luther ที่รู้จักกันดี Luther ได้เขียนเนื้อเพลง และแต่งเมโลดี้ ระหว่างปีค.ศ. 1527-1529 และเพลงนี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างน้อย 70 ครั้ง และยิ่งไปกว่านั้นเพลงนี้ยังถูกนำมาแปลอีกหลายภาษา
A Mighty Fortress เป็นหนึ่งในเพลงสวดสรรเสริญที่นิยมมากที่สุดในนิกายลูเธอแร็น และ โปรเตสแตนต์ เรียกได้ว่าเป็นเพลงแห่งการต่อสู้ในการปฏิรูปศาสนจักร (Battle Hymn of the Reformation) เพราะมีผลทำให้ผู้สนับสนุนการปฏิรูปศาสนจักรนั้นเพิ่มขึ้น


John Julian ได้บันทึกที่มาของเพลงไว้ 4 สาเหตุ
- Heinrich Heine: มันเป็นเพลงที่ Luther และเพื่อนของเขาร้องขณะที่พวกเขาเดินทางเข้าเมือง Worm ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1521 เพื่ออดอาหาร
- K.F.T. Schneider: มันเป็นเพลงที่ Luther อุทิศให้เพื่อนของเขาที่ชื่อ Leonhard Kaiser ที่ถูกประหารในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1527
- Jean-Henri Merle d'Aubigné: เป็นเพลงที่เจ้าชายในนิกายลูเธอแร็นของเยอรมันได้ขับร้อง ขณะที่พวกเขาได้เดินทางเข้าเมือง Augsburg เพื่ออดอาหารในปี ค.ศ. 1530 ที่แสดงความเลื่อมใสแห่ง Augsburg
- การประพันธ์นี้มีจุดประสงค์เกี่ยวกับการอดอาหารที่เมือง Speyer ในปีค.ศ.1529 ซึ่งเจ้าชายในนิกายลูเธอแร็นของเยอรมัน ยื่นการคัดค้านต่อจักรพรรดิ Charles V ที่ต้องการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาแห่ง Worms ในปีค.ศ. 1521


เพลงนี้เหมือนจะมีอยู่มีแล้วในหนังสือบทสวดของ Andrew Rauscher (1531) ตั้งแต่แรกแล้ว แต่น่าจะได้รับมาจากหนังสือของ Joseph Klug's Wittenberg (1529) ซึ่งไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ก่อนนั้นมันน่าจะปรากฎในหนังสือสวดที่ชื่อ Hans Weiss Wittenberg ในปีค.ศ. 1528 แล้วเกิดการสูญหายเช่นกัน นี่คือหลักฐานที่ยืนยันว่ามีการเขียนในปี ค.ศ. 1527-1529 ตั้งแต่นั้นมาแพลงสวดของ Luther ก็ถูกพิมพ์ออกมาในไม่ช้าหลังจากที่เขาแต่งเพลงนี้ได้ไม่นาน มีการเล่าสืบต่อกันมาว่ากษัตริย์ Gustavus Adolphus แห่งสวีเดนให้ใช้เพลงนี้เล่นในสงคราม 30 ปี เพลงสวดนี้ก็ได้ถูกแปลเป็นภาษาสวีเดน น่าจะแปลโดย Olaus Petri ตั้งแต่ปี ค.ศ.1536 ) ภายหลังจากคริสต์ศตวรรษ 1800 เพลงนี้ยังได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญของขบวนการสังคมนิยมสวีเดนมาก่อน
เพลงนี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกโดย Myles Coverdale ในปี ค.ศ. 1539 โดยใช้ชื่อว่า “Oure God is a defence and towre” ส่วนการแปลครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษในการใช้ทั่วไป ใช้ชื่อว่า “God is our Refuge in Distress, Our strong Defence” ซึ่งอยู่ในหนังสือเพลงสวด J.C. Jacobi's Psal. Ger., 1722, หน้า 83


ปัจจุบัน เพลงนี้ใช้เป็นเพลงสวดของนิกายคาทอลิก ซึ่งอยู่ในหนังสือคาธอลิกสำหรับพิธีบูชา ครั้งที่ 2 จัดพิมพ์โดย คณะประชุมสังฆราชคาทอลิกคานาดา ความนิยมของเพลงนี้ยังคงอยู่ในชาวคริสตะวันตกได้ทำลายขอบเขตที่ถูกสร้างไว้ในยุคการปฏิรูปศาสนาให้หมดไป

Gioseffo Zarlino

เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1517 ในเมือง Chioggia ประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1590 เขาเป็นนักทฤษฎีและนักประพันธ์ชาวอิตาลีในยุค Renaissance ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในด้านการพัฒนาพัฒนาเสียงประสานในดนตรี และเคาเตอร์พอยท์ (counterpoint)


เขาได้เริ่มเรียนศาสนา Franciscans และภายหลังก็ได้ร่วมเล่นดนตรี ในปีค.ศ 1536 เขาได้เป็นนักร้องที่ Chioggia Cathedral และในปีค.ศ 1539 เขาไม่ได้เป็นเพียงผู้ดูแลวัดแต่เป็นตัวหลักในการเล่นออร์แกน ในปีค.ศ. 1540 เขาได้บวช และปี ค.ศ 1541 ได้เดินทางไปเรียนดนตรีกับ Adrian Willaert ผู้มีชื่อเสียงทางด้าน contrapuntist และ เชี่ยวชาญทาง cappella ที่ Saint Mark's
ในปี ค.ศ.1565 เขาได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง maestro di cappella of St.Marks ซึ่งเป็นตำแหน่งทางดนตรีที่ทรงเกียรติอย่างสูงในอิตาลีแทนที่ Cipriano de Rore ที่เพิ่งลาออกไป เขาอยู่ในตำแหน่งนั้นจนกระทั่งเขาเสียชีวิต ในช่วงที่ Zarlino ดำรงตำแหน่งอยู่นี้เขาได้สอนนักประพันธ์ Venetian school และมีลูกศิษย์ที่สำคัญคือ Claudio Merulo, Girolamo Diruta, Giovanni Croce, Vincenzo Galilei และ Giovanni Artusi ซึ่งเป็นพ่อของนักดาราศาสตร์


Zarlino มีความเชี่ยวชาญในการแต่งเพลงแมส( Mass) และโมเต็ท (Motet) โดยมีการนำเสนอ Counterpoint ที่สละสลวย และเขายังเป็นนักทฤษฎีที่มีชื่อเสียง ผลงานที่สำคัญของ Zarlino คือ ตำราทฎษฎีดนตรีชื่อ Le istitutioni harmoniche ซึ่งตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1558 ที่อธิบายถึงดนตรีในทางคณิตศาสตร์ และใน Diamostrationi harmoniche ที่เขาเขียนขึ้นในปี 1571 เป็นตำราที่ว่าด้วยเรื่องของโหมดที่มีการปรับปรุงหมายเลขของโหมดต่างๆใหม่ ต่อมาตำราต่างๆของ Zarlino ได้ถูกเก็บรวบรวมและตีพิมพ์โดย Francesco Francesch และแพร่หลายในทวีปยุโรปช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 และได้มีการแปล และอธิบายในภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และในประเทศ เนเธอร์แลนด์ในหมู่นักเรียน ของ Sweelinck จึงมีอิทธิพลต่อไปในรุ่นของนักดนตรีสมัย Baroque

Chaconne

Chaconne
Chaconne เป็นชนิดของการประพันธ์เพลงแบบ Variation form (โครงสร้างของเพลงที่ใช้การแปรเป็นสำคัญ) เป็นเพลงที่มีการแปรทำนองบนคอร์ดที่เล่นซ้ำไปซ้ำมา โครงร่างของการประพันธ์คือ มีการแปรทำนอง, มีการตกแต่งประดับประดา, มีส่วนย่อยรอง หรือที่เรียกว่า Figuration (คือส่วนเล็กๆของทำนองที่ประกอบด้วยโน้ตไม่กี่ตัว มีลักษณะขึ้นลงชัดเจน) และการพลิกกลับของทำนอง
เป็นเพลงแปรทำนองประเภทของเพลงเต้นรำหรือบทเพลงบรรเลงของฝรั่งเศส จังหวะค่อนข้างช้าในอัตราจังหวะสามสี่ เป็นรูปแบบหนึ่งของการแปรในทำนองเดียวกับ Passacaglia ซึ่งมีจังหวะช้ากว่าเล็กน้อย Chaconne มีแนวเบสยืนพื้นหรือการดำเนินคอร์ดยืนพื้น (Chord progression) ความยาวประมาณ 8 ห้อง ซึ่งเล่นซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่อง Chaconne แพร่หลายมากในยุค Baroque ถือกำเนิดในประเทศสเปนช่วงปลายศตวรรษที่16 เป็นเพลงเต้นรำที่ต้องเต้นอย่างรวดเร็วมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง และมีเนื้อเพลงที่มีการล้อเลียน เครื่องดนตรีที่ใช้นั้นประกอบด้วย Guitar หรือ Tambourine แล้วมีการเผยแพร่เข้าไปในประเทศอิตาลี การดำเนินคอร์ดที่นิยมใช้คือ I-V-vi-V ในสัดส่วนของโน้ต 3 พยางค์ 2 กลุ่ม หลังจากนั้นก็ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปโดยก่อนศตวรรษที่ 18 Chaconne ค่อยๆพัฒนากลายเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะช้าลงเป็น 3 เท่า

หลังจากที่ฝรั่งเศสได้รับรูปแบบเพลง Chaconne มาจากอิตาลีแล้ว ในช่วงศตวรรษที่17 และ18 ได้มีการพัฒนา Chaconne ให้มีความหรูหราและเป็นทางการ และมีการควบคุมโครงสร้างมากขึ้น มีการใช้แสดงในโรงมหรสพ ประกอบการเต้นรำที่มีชื่อ เสียงมากในผลงาน Tragédies lyriques ของ Jean-Baptiste Lully ซึ่งใน Chaconne ของ ฝรั่งเศสนี้มักจะมีรูปแบบของ Rondeau(เพลงที่มีลักษณะการย้ำทำนอง) และ Variation(การแปรทำนอง) ผสมอยู่ ด้วย

ที่เยอรมันตั้งแต่ผลงานของ Heinrich Schütz เป็นต้นมา ที่มีการประพันธ์แบบ Chaconne ประกอบอยู่ในบทเพลง และมีการใช้ Ground-Bass(แนวเบสต่อเนื่อง) Ostinato(แนวซ้ำยืนพื้น) อย่างแพร่หลาย การประพันธ์รูปแบบ Chaconne ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก ได้แก่ท่อน final movement ของ Violin Partita in D minor ของ Johann Sebastian Bach นักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ซึ่งมีความยาวถึง 256 ห้อง และมีการพัฒนาท่อนหลักยาว 4 ห้อง ไปในคีย์ Major และ minor

หลังจากปี 1740 Chaconne นั้นได้รับความนิยมมากกว่า Passacaglia ซึ่งมักถูกนำไปแต่งเพลงสำหรับเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และ Chamber music และหลังจากยุคบาโรคมา การประพันธ์เพลงแบบ Chaconne ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก รวมถึงดนตรีในศตวรรษที่19ที่มีการใช้ Chaconne และ Passacaglia ในเพลงแต่มักจะถูกเรียกเป็น ostinato variations แทน

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

Alessandro Scarlatti

เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ.1660 และเสียชีวิตในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1725
เขาเป็นนักประพันธ์เพลงชาวอิตาลีในยุคบาโรก ที่มีชื่อเสียงมากในการประพันธ์ อุปรากร (opera) และ เชมเบอร์คันตาตา (chamber cantatas) นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน Neopolitan School of opera ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในทางดนตรีและอุปรากร งานอุปรากรของเขามีทั้งหมดถึง 115 เรื่อง Oratorios 20 Masses 10 Concertos 12 Solo cantatas with basso 600 และเพลงเบ็ดเตล็ดอื่นๆ อีกมาก เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิก New Monodic Style


ประวัติของ Scarlatti เขาเกิดที่เมืองพาเลอร์โม (Palermo) ซึ่งเป็นนครหลวงของซิซิลี (Sicily) เขาเกิดมาในครอบครัวที่เป็นนักดนตรีโดยอาชีพ เขาเล่นฮาร์พซิคอร์ด (Harpsichord)ได้ดีเยี่ยม และเขาได้เรียนดนตรีกับ Giacomo Carissimi (1605-1674) นักประพันธ์ชาวอิตาลี ที่กรุงโรม Carissimiนั้นมีชื่อเสียงในการแต่งเพลงประเภท โอราโตริโอ (Oratorio) และ คันตาตา (cantata) พอเรียนมาได้เพียง 2 ปีครูก็ถึงแก่กรรม เขาจึงได้รับอิทธิพลในการประพันธ์มากจาก Carissimi นอกจากนี้ เขายังได้รับอิทธิพลจากผลงานของ Stradella and Legrenzi อีกด้วย Scarlatti เริ่มมีชื่อเสียงเมื่อเขานำอุปกรณ์เรื่อง L’errore Innocente หรือ Gli equivoci nel sembiante ที่แต่งขึ้นออกแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงโรม เมื่อ ค.ศ. 1679 จากการแสดงอุปกรครั้งนี้ ทำให้พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดน (Queen Christina of Sweden) ซึ่งประทับอยู่ในกรุงโรม ทรงสนพระทัยในตัวเขามาก จึงได้ตกลงจ้างเขาให้เป็นผู้กำกับวงดนตรีประจำโรงละครส่วนพระองค์ Scarlatti ทำงานให้พระนางคริสตินาเป็นเวลา 4 ปี คือตั้งแต่ ค.ศ. 1680-1684 และได้แต่งเพลง L’onesta negli amori (ค.ศ. 1680) Il Pompeo (ค.ศ. 1683) และหลังจากนั้นเขาก็ได้เดินทางไปเมืองเนเปิลส์ (Naples) เพื่อเปิดการแสดงเพลง Il Pompeo ที่นั้น(ค.ศ. 1684) หลังจากแสดงเรื่องนี้แล้วเขาก็ได้รับตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรีของราชสำนักเมือง เนเปิลส์ และทำงานที่นี่ตั้งแต่ ค.ศ. 1684-1702 ในระหว่างที่อยู่กรุงโรมนั้น เขามีครอบครัว มีลูก 5 คน ชาย 3 คน หญิง 2 คนพอย้ายมาอยู่เมืองเนเปิลส์ได้เพียงปีเดียว เขาก็ได้ลูกคนที่ 6 เป็นชาย ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่า โดเมนีโค สคาร์ลัตตี (Domenico Scarlatti) ซึ่งต่อมาเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง Scarlatti ทำงานอยู่ที่ราชสำนักเมืองเนเปิลส์เป็นเวลานานถึง 18 ปี จึงลาออกไปอยู่ที่ ฟลอเรนซ์ ประจำโ(Florence) ในระหว่างปี ค.ศ 1702-1703 โดยได้ทำงานเป็นนักแต่งเพลงประจำโรงละครอุปกรณ์ของเจ้าชายเฟอร์ดินันโด ที่ 3 เดอ เมดิซี (Prince Ferdinando III de Medici) แห่งทุสคานี (Tuscany) และนอกจากนี้เขาก็ยังได้ทำงานเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี นักร้องประสานเสียง เป็นผู้อำนวยการสถาบันการดนตรี Conservatory di Sant’ Onofrio และเป็นครูสอนดนตรีให้แก่ Conservatorio di Santa Maria di Loreto


Style เพลงส่วนใหญ่ของเขามีโครงสร้างที่สมดุล ใช้เสียงประสานที่มีโครมาติกมากๆ ซึ่งต่อมาสามารถพบในผลงานของโมสาร์ทและศิลปินคนอื่นในยุคคลาสสิก


Scarlatti มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายคน อย่างเช่น โจฮันน์ อดอล์ฟ เฮสเซ (Jonhann Adolph Hasse ค.ศ. 1699-1783) นักแต่งเพลงประกอบละครที่มีชื่อเสียงชาวเยอรมัน นิโคลา โลกรอสซิโน (Nicola Logroscino ค.ศ. 1698-1765) นักแต่งเพลงอุปรากรแบบ Comic Operra ที่มีชื่อเสียงชาวอิตาลี และฟรังเซสโก ดูรันเต (Francesco Durante ค.ศ. 1698-1755) นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงชาวอิตาลีเช่นเดียวกัน

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Guido D'Arezzo

Guido of Arezzo, Guido Aretinus, Guido da Arezzo, Guido Monaco หรือ Guido D'Arezzo เป็นนักบวชและนักทฤษฎีดนตรีในยุคกลาง (Medieval era) เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 991 หรื992 และถึงแก่กรรมหลังปี ค.ศ. 1033


Guido เป็นนักบวชในคณะเบเนดิกต์จากเมือง Arezzo ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดที่มีชื่อเดียวกัน เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัดเส้น (Staff notation) ในสมัยใหม่ ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) ที่เป็นของเดิม งานเขียนของเขาที่ชื่อ Micrologus ถูกเขียนขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1025 หรือ ค.ศ. 1026 นั้นมีอิทธิพลเป็นอย่างสูงต่อการพัฒนาการประสานเสียงหลายเสียง (Polyphony) จังหวะที่เป็นอิสระ (Rhythmic independence) ที่ประสานเข้ากับท่วงทำนองที่เป็นอิสระ (Melodic independence) และผนวกเสียงร้องหลายแนวตั้งแต่ 2 ทำนองหรือมากกว่าในทำนองเพลงเดิมๆ ที่เรียบง่าย นับเป็นทฤษฎีทางดนตรีชิ้นที่สองซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดชิ้นหนึ่งในยุคกลาง ถัดจากงานเขียนของ Boethius (ค.ศ. 480–524 หรือ 525) นักปรัชญาชาวโรมในยุคกลางในศตวรรษที่ 6


ช่วงแรกนั้นเขาเป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงฆ์ที่ปอมโปซา (Pomposa) แถบชายฝั่งทะเลอะเดรติก (Adriatic) ใกล้กับเมืองเฟอรารา (Ferrara) ทางตอนเหนือของอิตาลี ขณะที่อยู่ที่นั่นเขาได้สังเกตเห็นความยากลำบากของนักร้องที่ต้องจดจำเพลง Gregorain Chant (พลงศาสนาดั้งเดิมที่มีระดับเสียงเดียว มีเพียงทำนองแต่ไม่มีเสียงประสาน) จึงได้คิดค้นวิธีการสอนเพลงร้อง (Chant) ให้กับนักร้องประสานเสียงเพื่อที่จะได้เรียนรู้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งมันได้กลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในแถบทางตอนเหนือของอิตาลี แต่วิธีการของเขาได้สร้างความไม่พอใจให้กับพระคนอื่นๆในโบสถ์ เขาจึงต้องย้ายไปยังเมือง Arezzo ที่เมือง Arezzo นั้น เขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่น การเขียนบรรทัด 5 เส้น (Staff notaion), Solfeggio (ต้นกำเนิดของบันไดเสียง โด-เร-มี ซึ่งแต่ละคำดึงมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวี Hymn, Ut queant laxis ) ซึ่งอาจจะมีรากฐานมาจากงานในสมัยแรกๆ ของเขาที่เมืองปอมโปซา


นอกจากนี้ Guido ยังได้รับการยกย่องอย่างไม่เป็นทางการว่า เป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตแบบ Guidonian Hand ซึ่งเป็นเทคนิคช่วยจำโน้ตที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยการตั้งชื่อโน้ตให้สัมพันธ์กับส่วนต่างๆ บนมือของมนุษย์


ชื่อของ Guido of Arezzo ถูกนำไปตั้งชื่อเป็นโปรแกรม GUIDO Music Notation เป็นระบบการนำเสนอการเขียนโน้ตเพลงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Gallican Chant

Gallican Chant หมายถึง บทสวดที่ประกอบด้วยประเพณีของศาสนพิธีที่มีทำนองการร้องแนวเดียว (plainchant) ในพิธีกรรม Gallican ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอริกในแคว้น Gaul ซึ่งเป็นเขตดินแดนยุโรปตะวันตกในสมัยโบราณ ก่อนที่จะถูกนำมาพัฒนาส่วนประกอบของพิธีกรรมแบบโรมันแล้วก็ค่อยๆพัฒนาจนกลายเป็น Gregorian Chant และต่อมาก็กลายเป็น Ambrosian Chant ในที่สุด ถึงแม้ว่าดนตรีของพิธีกรรม Gallican ที่เกือบจะสมบูรณ์นั้นส่วนใหญ่ได้ถูกทำลายไป แต่ร่องรอยที่ทำให้เชื่อว่างานเขียนของพิธีกรรม Gallican นั้นยังคงเหลืออยู่ คือในบทสวด Gregorian และบทสวดอื่นๆอีก ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในสไตล์การประพันธ์



ชื่อที่ใช้เรียกว่า “Gallican” นั้นบางครั้งอาจใช้ในความรู้สึกว่าเป็น ‘non-Roman’ ดังนั้น Gallican Chant อาจหมายถึง ผลงานประพันธ์เพลงในยุคเก่า วรรณกรรมดนตรีของคาบสมุทร Iberian บริเวณ Celtic และ ทางเหนือของ Italy (รวมถึง Milan) และในแคว้น Gaul ด้วย


รูปแบบการประพันธ์ Gallican Chant


โครงสร้างของ Gallican Chant นั้นคำที่ใช้ในบทสวดต้องมีความเข้มงวด มีแบบแผนที่ชัดเจน รูปแบบการใช้ภาษาต้องสวยงาม และในการสวดนั้นมีการใช้คำสำคัญในรูปแบบที่ซ้ำไปซ้ำมา ในเนื้อหาของบทสวดนั้นทั้งหมดจะกล่าวเพื่อสรรเสริญ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ในส่วนของทำนองนั้น ใช้ทำนองที่คุ้นเคยจำง่าย มีการซ้ำทำนอง มีการเอื้อน โดยใช้ neumes (สัญลักษณ์ที่แสดงการขึ้นลงของเสียงร้องใช้แทนตัวโน้ตในการบันทึกโน้ตในยุคกลาง) และยังมีการนำทำนองจากเพลงอื่นเข้ามาใช้ร่วมอีกด้วย