วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

Alexander Nikolayevich Scriabin

เกิดวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1872 และเสียชีวิตวันที่ 27 เมษายน ค.ศ.1915 เป็น นักประพันธ์ และนักเปียโนชาวรัสเซียในยุคโรแมนติกตอนปลาย กับยุคศตวรรษยี่สิบ เขาเกิดในครอบครัวซึ่งเป็นคนชั้นสูงกรุงมอสโคว์ (Moscow) เมืองหลวงของรัสเซีย เขามีรากฐานมาจากทหารโดยพ่อ และลุงของเขาทุกคนมีอาชีพเป็นทหาร เมื่อเขาอายุเพียงไม่กี่ปีแม่ของเขาซึ่งเป็นนักแสดงเปียโน และเป็นลูกศิษย์ของ Theodor Leschetizky ก็ได้เสียชีวิตลงจากโรควัณโรค เขาได้เรียนรู้ทางด้านดนตรีจากป้า Lyubov ของเขาซึ่งเป็นนักเปียโนสมัครเล่น เขาเริ่มสร้างเปียโนหลังจากที่ได้ค้นพบเสน่ห์ทางกลไกและโครงสร้างของเปียโน ในช่วงแรกเขาได้เรียนเปียโนกับ Nikolai Zverev ที่เป็นผู้เข้มงวดถือวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นคนที่สอน Sergei Rachmaninoff และอัจฉริยะบุคคลคนอื่นๆใน เวลาเดียวกัน


Scriabin มีผลงานสำคัญๆ มากมายทั้งสำหรับเปียโนและสำหรับวงออร์เคสตร้า Scriabin เป็นนักประพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อ Sergei Prokofiev, Roslavets and Igor Stravinsky ถึงแม้ว่าเขาจะบอกว่าไม่ชอบดนตรีของ Prokofiev และ Stravinsky ก็ตาม Scriabin นั้นได้รับอิทธิพลจากสำนักโรแมนติคในช่วงที่เขาเกิด และยังได้รับอิทธิพลจาก Chopin (1810-1849) ซึ่งเป็นประพันธ์ และนักเปียโนชาวโปแลนด์ในยุคโรแมนติกในด้านเพลงเดี่ยวเปียโน แต่ก็มีสไตล์การประพันธ์ของตนเองที่ค่อนข้างเด่นชัดจากการที่เขาได้พัฒนาการประพันธ์ได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับนักประพันธ์คนอื่นๆ งานช่วงแรกๆของเขาให้ความรู้สึกที่มีพลัง งานช่วงและช่วงปลายใช้ โครงสร้างและการประสานเสียงที่ผิดปกติ การพัฒนาทางสไตล์ และทางเสียงของ Scriabin สามารถดูได้จาก twelve piano sonatas ของเขา Scriabin นั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นนักประพันธ์เพลงเด่นๆ คนเดียวในยุคนั้น ที่การสร้างสรรค์ผลงานได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิมิสทิซิสซึม(Mysticism) คือลัทธิที่ว่าด้วยผีสางเวทมนตร์ความลึกลับ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพสังคมและวิถีความคิดของศิลปินส่วนมาก(โดยเฉพาะกวีในกลุ่ม Symbolist) ในยุค Silver Age ที่รัสเซียขณะนั้น ได้ปฏิเสธความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และเชื่อว่าเป้าหมายของศิลปะที่แท้จริงนั้นต้องเป็นไปเพื่อยกระดับจิตวิญญาณ ของมนุษยชาติเท่านั้น (แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะในเชิงจิตวิญญาณนี้ส่งผลยาวนานในศิลปะรัสเซียจนถึงปัจจุบัน) Scriabin เองให้ความสนใจในการศึกษาปรัชญามาตลอด และรู้จักงานของนักคิดเช่น Goethe, Nietzsche, Schopenhauer, Plato และ Schelling เป็นอย่างดี เมื่อกระแสลัทธิมิสทิซิสซึมปรากฏขึ้นในช่วงต่อระหว่างศตวรรษนั้น ว่ากันว่าบรรยากาศในรัสเซียอบอวลไปด้วยความกระหายใคร่รู้เกี่ยวกับจิตวิญญาณ ผู้คนค้นหาพระเจ้า และช่องทางในการสัมผัสสื่อสารกับสิ่งที่มองไม่เห็น และ Scriabin เองในขณะนั้นก็มีโอกาสศึกษางานของ Theosophy Society (บางครั้งแปลว่าสมาคมเทวญาณวิทยา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1875 ที่นิวยอร์ค โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรวบรวมศาสนาต่างๆ ของโลกและปรัชญาเข้าด้วยกัน ทั้งของทางฝ่ายตะวันออกและตะวันตก รวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับการติดต่อกับเทวะผ่านวิธีการทางจิตวิญญาณ เป็นสมาคมที่ค้นพบและให้การศึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ศรัทธา) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมาดาม Blavatsky


การศึกษาค้นคว้าของสมาคม Theosophy ในขณะนั้น ได้กล่าวถึงสีและความสัมพันธ์กับคลื่นความคิดไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า Thought-Forms (1905) ของ Annie Besant และ C. W. Leadbeater ซึ่งยืนยันว่าเสียงแต่ละเสียงนั้นมีสีของตัวมันเองอยู่ โดยผู้ที่มีประสาทสัมผัสที่ละเอียดอ่อนพอเท่านั้นจึงจะสามารถมองเห็นสีต่างๆ เหล่านั้นได้ ในความเชื่อของผู้เข้าร่วมสมาคม Theosophy นั้น สีต่างๆ มีความสัมพันธ์กับความคิดของมนุษย์ และมีความหมายต่างๆ กันออกไป เช่นสีแดงนั้นสื่อถึงความโกรธ สีเหลืองนั้นหมายถึงปัญญา สีเขียวมีความเชื่อมโยงกับศาสนาเป็นต้น


ในส่วนของวรรณศิลป์นั้นเป็นไปได้ว่า Scriabin จะได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Arthur Rimbaud (1854-1891) กวีฝรั่งเศสในสำนัก Symbolist ที่ เคยทำการเปรียบเสียงสระต่างๆ ชนิดเป็นสีต่างๆ กัน เช่นตัว O เปรียบกับสีขาว หรือแดง ตัว A เทียบได้กับสีดำ ซึ่งในท่อนสำคัญของ Prometheus นั้น ก็ปรากฏว่า Scriabin ให้กลุ่มนักร้องประสานเสียงร้องเสียงสระต่างๆ ชนิดกันเป็นหลักมากกว่าที่จะใช้คำ


งาน Prometheus : Poem of Fire ของ Scriabin นั้น นำเสนอความเกี่ยวพันระหว่างเสียงกับสี นำออกแสดงอย่างสมบูรณ์พร้อมแสงสีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1915 เป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่และแสดงประกอบกับ Color Organ ซึ่งจะแสดงสีสันต่างๆ ออกมาขณะเล่นโดยการแปลค่าจากตัวโน้ตที่บรรเลง งานชิ้นนี้ได้รับความสนใจอย่างมากไม่เพียงแต่จากวงการดนตรีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวงการวิทยาศาสตร์อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น